www.cbpworld.net

  เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก       
 

เรโตนา  มัลติฟอร์มูล่า # 2880  MULTIFORMULA # 2880  RETONA  (เอนไซม์) 

        ณ  ที่ใดมีชีวิต ณ ที่นั้นมีเอนไซม์ เอนไซม์  คืออะไร เอนไซม์  คือ  โปรตีนที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมีในสิ่งที่มีชีวิตทุกชนิด เอนไซม์จึงสำคัญต่อทุกปฏิกิริยาเคมีในร่างกาย คือในทุก ๆ เซลล์ของร่างกาย ซึ่งรวมกว่า 60 ล้านล้านเซลล์ ถ้าไม่มีเอนไซม์ ร่างกายก็จะไม่มีการหายใจ ปราศจากการย่อยอาหาร ไม่มีการเจริญเติบโตของร่างกาย การคิดและแม้แต่การนอนก็ต้องใช้เอนไซม์ ดังนั้นสิ่งที่มีชีวิตไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้  หากปราศจากเอนไซม์ เอนไซม์ทำหน้าที่ เปลี่ยนอาหารที่เรารับประทานเข้าไปเป็นโครงสร้างทางเคมี ที่สามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ในระบบการย่อยอาหารเข้าสู่กระแสเลือดได้ และเลือดเป็นอาหารของเซลล์ นอกจากนี้เอนไซม์ยังสามารถเปลี่ยนอาหารให้เป็นกล้ามเนื้อ กระดูก เส้นประสาท  และต่อมต่าง ๆ เอนไซม์ในตับจะช่วยเก็บอาหารส่วนที่เหลือใช้  เพื่อถนอมเป็นพลังงาน และวัตถุดิบที่มีความจำเป็นในภายภาคหน้า มนุษย์เราทุกวันนี้ต้องเผชิญอันตรายรอบด้าน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยต้องยอมรับการดำเนินชีวิต ที่เสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยรอบด้าน อันได้แก่

        อากาศ ที่เต็มไปด้วยมลพิษ สารตะกั่วที่ตกค้างจากการเผาผลาญของเครื่องยนต์ และฝุ่นละออง ภาวะโลกร้อน

        น้ำ ปัจจุบันมีสิ่งปนเปื้อนมากมาย แม้แต่น้ำประปาที่มีสารคลอรีน เมื่อโดนความร้อนจะเปลี่ยน เป็นสารก่อมะเร็ง  (THM)

        อาหาร ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ ก็มีการใส่สารกันบูด การใช้สารเคมีเพื่อฆ่าแมลง สารเร่งการเจริญเติบโต สารปรุงแต่งทำให้รสชาติดี การตัดแต่งพันธุกรรมให้ผิดไปจากธรรมชาติ

 

คุณสมบัติของ  เรโตนา  มัลติฟอร์มูล่า # 2880  (เอนไซม์) 

 

  • - เอนไซม์ ช่วยไต ปอด ตับ ผิวหนัง ลำไส้ ในการขับถ่ายของเสีย
  • - เอนไซม์ช่วยให้ธาตุเหล็ก  ประกอบลงไปในเม็ดเลือดแดง ช่วยทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดหยุดไหล เมื่อเกิดบาดแผล
  • - เอนไซม์จะเกี่ยวข้องกันเกือบทุกระบบในร่างกาย เช่น ระบบการหายใจ การนอนหลับ การรับประทานอาหาร การทำงาน และกระบวนการคิดของร่างกายดีขึ้น
  • - ตับอ่อน เป็นอวัยวะที่ผลิตเอนไซม์ ทำหน้าที่ย่อยอาหารมากที่สุด ตับอ่อนได้รับวัตถุดิบที่จะนำมาผลิตเอนไซม์จากกระแสเลือด หรือจากเซลล์ของร่างกาย ตับอ่อนผลิตเอนไซม์ที่สำคัญในกระบวนการย่อยอาหาร ได้แก่
    • - เอนไซม์ อะไมเลส ทำหน้าที่ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล
    • - เอนไซม์ โปรตีเอส ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโน
    • - เอนไซม์ ไลเปส    ทำหน้าที่ย่อยไขมันให้เป็นกรดไขมัน

ซึ่งผลการเปลี่ยนแปลงสารอาหารนี้ทำให้ร่างกายดูดซึมเอาน้ำตาล กรดอะมิโน และกรดไขมัน เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ได้ แม้ว่าตับอ่อนจะผลิตเอนไซม์ได้ในปริมาณที่มาก แต่เราควรคำนึงถึงเอนไซม์ที่อยู่ในอาหารเพื่อช่วยในกระบวนการย่อยอาหารร่วมกับเอนไซม์ในร่างกายด้วย

                เอนไซม์ มีความจำเป็นต่อทุกปฏิกิริยาเคมี ที่เกิดขึ้นในร่างกายมนุษย์ เกลือแร่ วิตามิน และฮอร์โมน จะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ  ถ้าขาดสิ่งเหล่านี้ เอนไซม์จะไม่สามารถทำงานได้


  โดยทั่วไป อนุมูลอิสระจะเกิดขึ้นในร่างกายได้ 2 ทาง   

                1.  การกินอาหาร อาหารที่ถูกปิ้ง ย่าง และทอดอย่างเกรียม การใช้สารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง และยาปราบวัชพืชซึ่งใช้กับ พืชผัก ผลไม้ ตลอดจนการบริโภคอาหารสำเร็จรูป มักจะผสมสารกันบูด สารกันเชื้อรา  สิ่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้น มีส่วนที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระได้ เราควรหลีกเลี่ยง

                2. การหายใจ คนที่อยู่ในเมืองหลวงใหญ่ ๆ มีโอกาสได้รับมลพิษ และมลภาวะเสียจากสิ่งแวดล้อม ด้านพิษจาก ท่อไอเสียของรถยนต์ และโรงงานต่าง ๆ ควันพิษจากบุหรี่ จะก่อให้เกิดอนุมูลอิสระได้มาก อนุมูลอิสระได้รับการยอมรับในหมู่นักวิทยาศาสตร์อย่างกว้างขวางว่า เป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ มากมาย แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

                2.1 กลุ่มโรคเสื่อม รวมทั้งแก่ก่อนวัย เป็นผลมาจาก  อนุมูลอิสระทำลายระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์–อัมพาต ปวดข้อ ต้อกระจก ริ้วรอยเหี่ยวย่น  การเกิดโรคสมองเสื่อม 

                2.2 กลุ่มโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก  มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม

                2.3 กลุ่มโรคภูมิต้านทานรวมถึงโรคภูมิแพ้ ข้ออักเสบ โรคภูมิต้านทานทำร้ายตนเอง โรค SLE

 

 

 

 

 

 

 โรคทุกโรคสาเหตุมาจากเอนไซม์ในร่างกายบกพร่อง  จากผลการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ 

ซึ่งรวบรวมโดย ดร.นพ.เอ็ดเวิด โฮเวล (Dr.Edward  Howell) ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาวิชาเอนไซม์ ได้สรุปว่า การมีระดับเอนไซม์ต่ำ คือ  ฆาตกรอันดับหนึ่ง ซึ่งคร่าชีวิตมนุษย์ได้มากกว่าโรคเอดส์ มะเร็ง โรคหัวใจ และอุบัติเหตุรวมกัน เพราะการศึกษาได้ชี้ว่า โรคทุกชนิดตั้งแต่เป็นหวัด คัดจมูก จนไปถึงโรคมะเร็ง มีรากฐานเดียวกันคือ สาเหตุเกิดจากระดับเอนไซม์ในร่างกายบกพร่องหรือมีระดับเอนไซม์ต่ำ

                การกินอาหารที่เอนไซม์ถูกทำลาย จะทำให้แก่เร็วและมีโรคเรื้อรัง มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับความสามารถในการผลิตเอนไซม์  เพื่อใช้ในร่างกายของตนเองในจำนวนจำกัด เอนไซม์ที่ผลิต มีทั้งเพื่อย่อยอาหารหรือเพื่อการเผาผลาญและสร้างพลังงาน เวลาที่กินอาหารร่างกายก็จะผลิตเอนไซม์ย่อยอาหารออกมา ร่างกายจะต้องได้รับเอนไซม์ย่อยอาหารจนพอเพียงเสียก่อน ถ้ายิ่งต้องการมากกว่าปกติ จะด้วยเหตุใดก็ตาม  ก็จำต้องเสียสมดุลของการผลิตเอนไซม์เมตาบอลิค ยิ่งผลิตเอนไซม์ย่อยอาหารมากเท่าใด เอนไซม์เมตาบอลิคก็ต้องผลิตได้น้อยลงเท่านั้น ผลก็คือการย่อยอาหารมากเท่าใด เอนไซม์เมตาบอลิคก็ต้องผลิตได้น้อยลงเท่านั้น ผลก็คือการย่อยอาหารดำเนินไปตามปกติ แต่การซ่อมแซมและสร้างเซลล์จะบกพร่อง ความต้านทานโรคจะอ่อนแอ สุขภาพทรุดโทรม ฯลฯ  

เอนไซม์ พลังแห่งชีวิต 

                เซลล์ได้รับพลังงานจากโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันที่เรากินเข้าไป การเผาผลาญพลังงานต้องการความช่วยเหลือของเอนไซม์ด้วยเช่นกัน ก่อนที่เซลล์จะนำมาใช้ประโยชน์ เช่น โปรตีนจะถูกเปลี่ยนเป็นกรดอะมิโน, ไขมัน ถูกเปลี่ยนไปเป็นกรดไขมัน, คารโบไฮเดรตถูกเปลี่ยนเป็นกลูโคส เซลล์จะทำหน้าที่เปลี่ยนสารอาหารเหล่านี้ให้เป็นพลังงาน อาศัยปฏิกิริยาร่วมกันระหว่างสารอาหารออกซิเจนและเอนไซม์บางตัว

 

ร่างกายจะได้รับเอนไซม์ มีอยู่ 3 ทาง 

  • ร่างกายของเราสร้างเอนไซม์ เพื่อทำหน้าที่ในขบวนการชีวเคมีภายในร่างกาย 
  • ได้จากอาหารดิบ 
  • ได้รับเพิ่มเติมในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 

 

เหตุผลที่เราต้องให้เอนไซม์เสริมอาหาร 

                เพราะคนเราส่วนใหญ่จะกินอาหารที่ทำให้สุกแล้วมากกว่า  อาหารดิบ  ข้าวและแป้งจะถูกนำไปผ่านกระบวนการขัดและสีทำให้ขาว  การฉายรังสีลงบนอาหาร การเร่งผลไม้ให้สุก การกระทำสิ่งเหล่านี้จะทำลายฤทธิ์ของเอนไซม์ ด้วยเหตุผลดังกล่าวเราจึงควรกินเอนไซม์เสริม 

 

ร่างกายขาดเอนไซม์ ระบบต่าง ๆ เหล่านี้จะหยุดทำงานและสูญเสียหน้าที่ 

  • Ø ระบบการสร้างเซลล์ใหม่
  • Ø ระบบการเจริญเติบโต
  • Ø ระบบประสาททั้ง 5
  • Ø ระบบภูมิต้านทานโรค
  • Ø ระบบการควบคุมฮอร์โมน
  • Ø ระบบย่อยอาหาร
  • Ø ระบบการหายใจ
  • Ø ระบบสมอง

 

ชีวิต คือ การทำงานร่วมกันของเอนไซม์อย่างมีระบบ หากเอนไซม์เสื่อมสภาพลงอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ ที่สำคัญต่อการมีชีวิตอยู่ได้ สิ่งมีชีวิตจะต้องตาย เพราะสิ่งมีชีวิตทุกชนิดถูกควบคุมด้วยเอนไซม์  เอนไซม์ที่มีความสำคัญต่อร่างกายบางชนิด ยกตัวอย่างเช่น  Bromelarin ที่ได้จากแกนสับปะรด จะทำหน้าที่ย่อยสลายโปรตีน  บรรเทาอาการอักเสบ ช่วยลดความอยากอาหาร เสริมสร้างภูมิต้านทาน  Papain เป็นเอนไซม์ที่ได้มาจากมะละกอ จะออกฤทธิ์ย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต ช่วยทำลายเชื้อโรคต่าง ๆ ถ้าหากเอนไซม์ไม่ถูกเสริม  หรือเติมเข้าไปในร่างกาย ชีวิตคนเราอาจจะสั้นลงกว่าที่เราคาดไว้ได้ การขาดเอนไซม์ ในสภาวะโภคชนาการปัจจุบัน มนุษย์นิยมรับประทานอาหารที่สุกเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ขาดเอนไซม์ ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการซ่อมแซมส่วนสึกหรอ และกระตุ้นการทำงานของเซลล์ให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เมื่ออายุมากขึ้นเรื่อย ๆ เอนไซม์ที่ร่อยหรอไปทุกวัน จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ และโรคแห่งความเสื่อมต่าง ๆ 

เราควรจะมีวิธียึดหลักปฏิบัติ 3 ประการ ดังนี้

     1. อาหารที่รับประทาน ครบถ้วนตามหมวดหมู่ของการบริโภค

     2. ประสิทธิภาพของการย่อยอาหารและเอนไซม์

     3. ความสมบูรณ์ของการไหลเวียนของเลือด

ถ้าการปฏิบัติทั้ง 3 ข้อนี้ บกพร่อง ก็จะเป็นสาเหตุให้ขาดสารอาหาร และเสียสมดุลในการ

ทำงานของเซลล์ ก่อให้เกิดโรคตามมา เช่น โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต  ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเก๊า ต้อกระจก SLE รูมาตอยด์ 

                ในทางโภชนาการยอมรับว่า พืช ผัก และผลไม้สด ๆ เป็นอาหารที่มีคุณประโยชน์ทั้งต่อระบบย่อยอาหาร และระบบการหมุนเวียนของเลือด เพราะเป็นเอนไซม์ธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยย่อยอาหาร และลดการอุดตันของไขมันในเส้นเลือด และยังมีวิตามินและเกลือแร่ไปช่วยสร้างเสริมการทำงานของเอนไซม์

                ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ที่สามารถทดแทนคุณสมบัติของพืชผัก  ผลไม้สด ๆ ได้ จึงเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนำมาใช้เพื่อการรักษาสุขภาพและโภชนาบำบัดได้

                เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เอ็นไซม์ที่สกัดออกมาจากสับปะรด มะละกอ เมล็ดฟักทอง หรือเมล็ดองุ่น และยังมีอีกหลายชนิดเป็นเอนไซม์ที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งจะถูกดูดซึมในทางเดินอาหาร ผ่านเข้าไปออกฤทธิ์ได้ในกระแสเลือด โดยไม่ถูกทำลาย 

                เรโตนา มัลติฟอร์มูลา เป็นอาหารเสริมอีกชนิดหนึ่งที่มีส่วนประกอบของเอนไซม์ ก็สามารถที่จะช่วยดูแลสุขภาพท่านได้



         

                                             

 

                                             

 
Online:  1
Visits:  290,615
Today:  40
PageView/Month:  2,120